บริการทดสอบดิน
Boring
Test Service
ปัจจุบัน ดับบลิว ซอยล์เทสติ้ง มีทีม พนักงานทดสอบ ช่างเทคนิค วิศวกรที่มีประสบการณ์ บริการด้วยความมุ่งมั่น อย่างดีที่สุด
ปัจจุบัน ดับบลิว ซอยล์เทสติ้ง มีทีม พนักงานทดสอบ ช่างเทคนิค วิศวกรที่มีประสบการณ์ บริการด้วยความมุ่งมั่น อย่างดีที่สุด
เนื่องจากดินเบื้องล่างมีความสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ มาก ซึ่งส่งผลให้กำลังและคุณสมบัติของดินแตกต่างกันออกไป การเจาะดินเพื่อเก็บตัวอย่างดินมาวิจัย และทดสอบต้องกระทำด้วยความระมัดระวังโดยที่จะต้องให้เกิดความกระเทือนต่อดินที่จะนำมาทดสอบให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะว่าดินมีความไวตัวมาก เมื่อเกิดแรงกระเทือนก็จะทำให้โครงสร้างของดินเปลี่ยนแปลงได้ ค่าที่วิจัยหรือทดลองได้ก็จะผิดไปจากความเป็นจริง ดังนั้นการเจาะและเก็บตัวอย่างดินจึงต้องมีวิธีการที่เหมาะสมกับงานในการเจาะสำรวจดินในโครงการแต่ละโครงการ การเจาะสำรวจดินกระทำได้โดยใช้เครื่องเจาะ 2 แบบ กล่าวคือ เครื่องเจาะแบบ Motorize System และ Rotary System โดยใช้หัวเจาะขนาด 100 มิลลิเมตร (4นิ้ว) และเพื่อป้องกันการพังทลายของผนังหลุมเจาะ จำเป้นต้องใส่ปลอกกันดินพัง (Steel Casing) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 มิลลิเมตรลงในชั้นดินอ่อนตั้งแต่ระดับความลึกประมาณ 1.50 เมตรจนถึง3.50เมตร และกระบวนการเจาะที่ใช้ในการเจาะสำรวจเป็นแบบวิธีการฉีดล้าง (Wash Boring)
การเก็บตัวอย่างดินที่นิยมใช้ในภาคสนามเป็นไปตามอุปกรณ์การเก็บ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
การเก็บด้วยกระบอกบาง (Shelby Tube Sampler) ลักษณะของกระบอกบางเป็นกระบอกเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7.1 ซม. ยาว 65 ซม. และหนาประมาณ 1.5 ซม. กดลงในชั้นดินเหนียวที่มีค่า Consistency อยู่ในช่วง Very soft to stiff ด้วยระบบไฮโดรลิค ตัวอย่างดินลักษณะนี้เรียกว่า ตัวอย่างดินไม่ถูกรบกวน (Undisturbed Sampler) หลังจากเก็บตัวอย่างดินได้แล้วต้องปิดหัวท้ายกระบอกด้วยเทียนไข เพื่อป้องกันความชื้นระเหย แล้วขนย้ายไปยังห้องปฏิบัติการด้วยความระมัดระวัง และเก็บรักษาไว้ในที่ควบคุมความชื้น เพื่อทดสอบหาค่าแรงเฉือน (Shear Strength) และคุณสมบัติอื่น ๆของดิน
การเก็บด้วยกระบอกผ่า (Split Spoon Sampler) ลักษณะของกระบอกผ่าเป็นกระบอกเหล็กซึ่งผ่าออกเป็น 2 ซีก นำมาประกบกันไว้โดยมีเกลียวครอบหัวและท้ายกระบอก เมื่อเก็บตัวอย่างดินแล้วสามารถจะเปิดแยกเพื่อดูตัวอย่างดินได้ กระบอกผ่ามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกและภายในเท่ากับ 5.0 ซม. และ
3.5 ซม. ตามลำดับ และยาว 69 ซม. การเก็บตัวอย่างดินแข็งหรือทรายจะทำหลังจากทำความสะอาดก้นหลุมเจาะเรียบร้อยแล้ว โดยตอกลงไปในดินด้วยลูกตุ้มเหล็กหนัก 63.5 กิโลกรัม ระยะยกลูกตุ้ม 76.2 ซม. ลูกตุ้มเหล็กกระแทกบนเป้ากานนำส่ง จดบันทึกค่าการตอกทุกระยะจมลง 15 ซม. เป็นจำนวน 3 ระยะ ค่าการตอก 2 ระยะหลังรวมกันเรียกว่า ค่า Standard Penetration Number การทดสอบวิธีนี้เรียกว่า การตอกทดลอง (Standard Penetration Test-SPT) ซึ่งสามารถนำไปวิเคราะห์หาความต้านทานของดิน โดยการทดสอบนี้เป็นไปตามมาตรฐาน ASTM D 1586
การจำแนกประเภทของดิน (Soil Classification)
การจำแนกประเภทดินเพื่อใช้ในงานวิศวกรรมฐานราก ใช้การจำแนกประเภทของดินแบบ Unified Soil Classification System (USCS)
การจำแนกประเภทของดินที่เป็น Cohesionless Soils จะอาศยขนาดของเม็ดดินเป็นหลักในการเรียกชื่อหลัก (Principle Name) และส่วนที่เข้ามาแทรกอยู่ด้วย (Supplement Name) โดยใช้เปอร์เซ็นต์ในการจำแนกดังต่อไปนี้
ชื่อหลัก : ดินขนาดใด ๆ ที่มีปริมาณ 50-100% ของปริมาณดินตัวอย่างทั้งหมด (Gravel, sand, silt, clay )
ชื่อประกอบ: Trace คือ ดินขนาดใดๆ มีปริมาณน้อยกว่า 5% ของปริมาณดินตัวอย่างทั้งหมด (Gravel, sand, silt, clay)
Few คือ ดินขนาดใดๆ ที่มีปริมาณ 5-10% ของปริมาณดินตัวอย่างทั้งหมด
Little คือ ดินขนาดใดๆ ที่มีปริมาณ 15-25% ของปริมาณดินตัวอย่างทั้งหมด
Some คือ ดินขนาดใดๆ ที่มีปริมาณ 30-45% ของปริมาณดินตัวอย่างทั้งหมด
สำหรับการอธิบายความหนาแน่นสัมพันธ์ (Relative Density) ของดินที่เป็น Cohesionless Soil โดยใช้ค่า SPT เป็นตัวกำหนด แสดงได้ดังต่อไปนี้
SPT N. Blows | ความหนาแน่นสัมพันธ์ (%) | สภาพดิน | มุม Internal Friction (องศา) |
0-4 | 0-20 | หลวมมาก | <28๐ |
4-10 | 20-40 | หลวม | 28๐ – 30๐ |
10-30 | 40-60 | ปานกลาง | 30๐ – 35๐ |
30-50 | 60-80 | แน่น | 36๐ – 41๐ |
>50 | 80-100 | แน่นมาก | >41๐ |
การจำแนกประเภทดินที่เป็น Cohesive Soil อาศัยขนาดของเม็ดดิน และ Plasticity ในการจำแนกประเภทของดิน สำหรับค่าของ Consistency ของดินที่เป็น Cohesive Soil สามารถใช้ค่า SPT และค่า Undrained Shear Strength หาความสัมพันธ์ให้ดังต่อไปนี้
|
|
|
<2 | <1.5 | อ่อนมาก |
2 – 4 | 1.5 – 2.5 | อ่อน |
4 – 8 | 2.5 – 5.0 | ปานกลาง |
8 – 15 | 5.0 – 10.0 | แข็ง |
15 – 30 | 10.0 – 20.0 | แข็งมาก |
>30 | >20.0 | แข็งที่สุด |
การทดสอบในห้องปฏิบัติการ
ตัวอย่างดินที่ได้จากการเก็บตัวอย่างโดยอุปกรณ์เก็บตัวอย่างขั้นต้นจะถูกคัดเลือกเพื่อนำไปทดสอบ โดยวิธีการดังต่อไปนี้
Description | Standard of Reference |
1.Natural Moisture Contents | ASTM D 2216 |
2.Atterberg Limited -Liquid Limited -Plastic Limited | ASTM D 423 ASTM D 424 |
3.Grain Size Analysis | ASTM D 422 |
Unconfined Compression Test | ASTM D 2166 |
รายงานผลการเจาะสำรวจ
ประกอบไปด้วย
– หนังสือรายงานผลการเจาะสำรวจ
– ขอบข่ายการเจาะสำรวจและแผนผังบริเวณที่ตั้งโครงการและตำแหน่งหลุมเจาะสำรวจ
– วิธีการเจาะสำรวจและการทดสอบดิน
– Boring Log
– Summary of Test Results
– คำแนะนำในการเลือกใช้ชนิดของฐานราก
– วิศวกรระดับสามัญเซ็นต์รับรองผ