บริการทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกของดิน
Plate Bearing Test
ปัจจุบัน ดับบลิว ซอยล์เทสติ้ง มีทีม พนักงานทดสอบ ช่างเทคนิค วิศวกรที่มีประสบการณ์ บริการด้วยความมุ่งมั่น อย่างดีที่สุด
ปัจจุบัน ดับบลิว ซอยล์เทสติ้ง มีทีม พนักงานทดสอบ ช่างเทคนิค วิศวกรที่มีประสบการณ์ บริการด้วยความมุ่งมั่น อย่างดีที่สุด
ค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของดิน (Bearing Capacity) เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ใช้ในการคำนวณ ออกแบบฐานรากอาคาร และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ รวมทั้งใช้ในการวิเคราะห์การทรุดตัวของดินเมื่อมีน้ำหนักมากระทำ
การทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกของดิน สามารถทำได้ด้วยวิธี Plate Bearing Test โดยทำการทดสอบที่ได้จากการพัฒนารูปแบบและปรับเปลี่ยนวิธีการ และขั้นตอนของมาตรฐาน ASTM D1194-94 เพื่อเป็นข้อมูลที่สำคัญและมีประโยชน์ต่อวิศวกรผู้ออกแบบ
สำหรับโครงการ Wind Farm ตำบลห้วยบง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา วิศวกรผู้ออกแบบได้กำหนดให้ทำการทดสอบ Plate Bearing Test จำนวน 720 จุด ( PBT1-PBT720 ) ที่น้ำหนักทดสอบสูงสุด 75 ตัน/ตร.ม. ดังรายละเอียดเครื่องมือ วิธีการ และผลการทดสอบดังต่อไปนี้
เครื่องมือและอุปกรณ์การทดสอบ
2.1 แรงปฏิกิริยา
ใช้รถขุดดินน้ำหนักประมาณ 20 ตัน จอดคร่อมจุดทดสอบเพื่อใช้เป็นแรงปฏิกิริยาในการทดสอบ
2.2 แม่แรงไฮดรอลิก
ใช้แม่แรงไฮดรอลิก เป็นเครื่องมือเพิ่มน้ำหนักทดสอบ โดยวางระหว่างแผ่นเหล็กทดสอบกับเสาเหล็กค้ำยันกับคานปฏิกิริยาโดยสอดบอลแบริ่งไว้บนหัวแม่แรงไฮดรอลิก
2.3 บอลแบริ่ง
สอดบอลแบริ่งไว้ระหว่างแม่แรงไฮดรอลิกและคานปฏิกริยา เพื่อให้เกิดแรงแนวดิ่ง
2.4 แผ่นเหล็กทดสอบ
ใช้แผ่นเหล็กรูปวงกลม ความหนาไม่น้อยกว่า 1’’ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8’’ 12” และ 24” วางซ้อนกัน เพื่อกระจายแรงในแนวดิ่งลงสู่ชั้นดิน
2.5 มาตรวัดการทรุดตัว
ใช้ไดอัลเกจจำนวน 3 ตัว วางทำมุม 120 องศา เพื่อวัดค่าการทรุดตัวของแผ่นเหล็กทดสอบ มีความยาวก้านวัด 30 มม. และมีค่าความละเอียด 0.01 มม.
2.6 คานรับมาตรวัดการทรุดตัว
วางคานรับมาตรวัดแยกเป็นอิสระจากแผ่นเหล็กทดสอบและน้ำหนักบรรทุก
รูปที่ 1. การติดตั้งเครื่องมือทดสอบ Plate Bearing Test
วิธีการทดสอบ
ดำเนินการทดสอบที่ได้จากการพัฒนารูปแบบและปรับเปลี่ยนวิธีการตามมาตรฐานModifiedASTM D 1194-94 “Standard Test Method” ซึ่งมีรายละเอียดการทดสอบดังนี้
3.1 ขั้นตอนการเพิ่มและลดน้ำหนักบรรทุก
( น้ำหนักบรรทุกสูงสุด 75.0 ตัน/ตารางเมตร )
0–>7.0–>14.0–>21.0–>28.0–>35.0–>42.0–>49.0–>
56.0–>63.0–>70.0–>52.50–>35.00–>17.50–> 0 ตัน/ตร.ม.
3.2 การเพิ่มน้ำหนักทดสอบขั้นตอนละ 10% ของน้ำหนักทดสอบสูงสุดที่กำหนดไว้
3.3 ก่อนเพิ่มน้ำหนักแต่ละขั้นตอนต้องรักษาน้ำหนักไว้ 15 นาที
3.4 การลดน้ำหนักลงขั้นตอนละ 25% ของน้ำหนักทดสอบสูงสุด
3.5 บันทึกการทรุดตัวทุกครั้ง ก่อนและหลังการเปลี่ยนน้ำหนักที่ 0, 1, 2, 4, 8, และ 15 นาที